Your search results

เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไว ชำระเกินทุกงวด vs. โปะเพิ่มปีละครั้ง

Posted by aor on 18 May 2015
| 0

ความสุขอย่างหนึ่งของคนที่เป็นหนี้ก็คือการได้เห็นยอดหนี้คงเหลือลดลง โดยเฉพาะถ้าหากสามารถลดยอดหนี้ลงได้มากกว่าที่ควรจะเป็นหรือสามารถปลดหนี้ได้ก่อนกำหนดก็ถือว่าเป็นเรื่องวิเศษสุดๆ  คำถามก็คือจะทำอย่างไรให้ยอดหนี้ลดลงเร็วๆ และชำระหนี้หมดไวๆ เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไวก็คือใช้หนี้ให้มากกว่าที่กำหนดไว้  ซึ่งก็คือมากกว่าจำนวนเงินชำระต่องวดที่ระบุไว้ในสินเชื่อนั่นเอง  ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีจำนวนเงินไปหักชำระเงินต้นมากขึ้น ซึ่งก็คือการไปหักยอดหนี้ออกโดยตรงเลยล่ะ  ซึ่งเราได้พิสูจน์ให้ชมไปแล้วในครั้งก่อนในบทความเรื่อง โปะหนี้บ้านให้หมดไวอย่างได้ผล โดยพบว่าการโปะหนี้บ้านนั้นช่วยให้ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้น และเสียดอกเบี้ยทั้งหมดลดลงได้จริง

   อย่างไรก็ตามเคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไวนั้นสามารถทำได้ทั้งการกระจายเงินเพื่อชำระเงินเกินในแต่ละงวดด้วยจำนวนเงินน้อยๆ อาจจะเป็นการชำระเกินทุกงวด หรือจะเป็นการชำระเกินด้วยจำนวนเงินมากๆ เพียงก้อนเดียว ด้วยการโปะเพิ่มปีละครั้งก็สามารถทำได้เช่นกัน  แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองวิธีการเป็นการโปะเงินเข้าไปด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กัน แต่ทั้ง 2 วิธีการนั้นให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน  และในครั้งนี้ DDproperty จะนำมาเปรียบเทียบให้เห็นกัน

 

1

 ตัวอย่างที่เรานำมาเปรียบเทียบในครั้งนี้เป็นการผ่อนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 3,500,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี หรือ 360 งวด  ซึ่งจะตัดตอนมาแสดงการผ่อนสินเชื่อในช่วงเวลาสองปีแรก (งวด 1-24) โดยกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 3 ต่อปี  สำหรับการผ่อนชำระในปีที่ 1 นั้นจะเหมือนกันทั้งสองทางเลือก แต่ประเด็นความแตกต่างจะเกิดขึ้นในปีที่ 2 ของการผ่อนชำระ โดยในทางเลือกที่ 1 นั้นจะเพิ่มจำนวนเงินผ่อนชำระต่องวดในทุกๆ งวด (งวดที่ 13-24) ให้มากขึ้นกว่าจำนวนเงินชำระต่องวดในปีแรก (งวดที่ 1-12)  ในขณะที่ทางเลือกที่ 2 นั้นจำนวนเงินชำระต่องวดจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในงวดสุดท้าย (งวดที่ 24) เพียงงวดเดียว  แต่ทั้งสองทางเลือกนั้นจำนวนเงินที่ชำระเกินทั้งหมดจากจำนวนเงินที่กำหนดให้ชำระขั้นต่ำจะรวมแล้วไม่แตกต่างกัน  สิ่งที่แตกต่างกันคือช่วงเวลาที่ชำระเงินออกไป  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความแตกต่างของยอดหนี้คงเหลือและจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วทั้งหมด ณ สิ้นงวดที่ 24  โดยการเปรียบเทียบนั้นยังคงใช้ตารางการผ่อนสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก ซึ่งเราเคยอธิบายหลักการผ่อนสินเชื่อแบบลดต้นลดดอกไว้ในบทความ รู้จักวิธีผ่อนบ้านแบบลดต้นลดดอก 

ทางเลือกที่ 1 ชำระเกินทุกงวด

   ผ่อนสินเชื่อบ้าน วงเงินกู้ 3,500,000 บาท โดยในปีแรก (งวดที่ 1-12) นั้นผ่อนชำระ 10,500 บาทต่องวด จากนั้นในปีที่ 2 (งวด 13-24) ให้ชำระเกิน โดยเพิ่มจำนวนเงินขึ้นอีก 3,000 บาทในทุกๆ งวด ซึ่งเท่ากับชำระ 13,500 บาทต่องวด  รวมจำนวนเงินที่ชำระเกินตลอดปีที่ 2 (งวดที่ 13-24) ทั้งหมด 12 งวดเท่ากับ 36,000 บาท  โดยในช่วงเวลา 2 ปีนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี  แสดงการผ่อนสินเชื่อสำหรับทางเลือกที่ 1 ได้ตามตารางด้านล่าง

2

 

8

จากตารางแสดงการผ่อนสินเชื่อด้านบน แสดงให้เห็นการผ่อนสินเชื่อตามปกติในปีที่ 1 และเริ่มมีการผ่อนชำระเกินในปีที่ 2 เริ่มตั้งแต่งวดที่ 13 ถึงงวดที่ 24 โดยเพิ่มจำนวนเงินชำระต่องวดจาก 10,500 บาทต่องวด เป็น 13,500 บาทต่องวด  รวมแล้วจำนวนเงินที่ชำระเกินมาตลอดทั้งปีที่ 2 เท่ากับ 36,000 บาท รวมจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมดตั้งแต่ปีแรกถึงสิ้นปีที่ 2 เท่ากับ 288,000 บาท  โดยในจำนวนนี้แบ่งไปเพื่อชำระดอกเบี้ยทั้งหมด 205,335.19 บาท และหักออกจากเงินต้นทั้งหมด 82,664.80 บาท  ทำให้ ณ สิ้นสุดปีที่ 2 หรืองวดที่ 24 เหลือยอดหนี้คงเหลือ 3,417,335.20 บาท  และเมื่อผ่อนชำระเกินด้วยจำนวนเงินเท่าเดิมต่อเนื่องไปถึงปีที่ 20 (ถึงงวดที่ 240) จะแสดงได้ดังตารางผ่อนสินเชื่อด้านล่างนี้

3

9

10

11

12

13

14

เมื่อผ่อนสินเชื่อต่อเนื่องไปถึงงวดที่ 240 ด้วยการชำระเกินอย่างต่อเนื่องในจำนวนที่คงที่ จะพบว่าเมื่อสิ้นสุดปีที่ 20 หรืองวดที่ 240  จะมีจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมด 3,204,000 บาท  โดยในจำนวนนี้แบ่งไปชำระดอกเบี้ย 1,676,353.12 บาท และชำระเงินต้น 1,527,646.86 บาท  และมียอดหนี้คงเหลือ ณ งวดที่ 24 เท่ากับ 1,972,353.14 บาท

ทางเลือกที่ 2 โปะเพิ่มปีละครั้ง

   ผ่อนสินเชื่อบ้านที่วงเงินกู้เท่ากับทางเลือกที่ 1 คือ 3,500,000 บาท โดยในปีแรก (งวดที่ 1-12) นั้นผ่อนชำระ 10,500 บาทต่องวด และในปีที่ 2 นั้นงวดที่ 13-23 (จำนวน 11 งวด) ยังคงผ่อนชำระเท่าเดิมคืองวดละ 10,500 บาท แต่ให้ชำระเกินในงวดสุดท้ายของปีที่ 2 (งวดที่ 24) เพิ่มขึ้นอีก 36,000 บาท  (ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่ชำระเกินทั้งหมดของทางเลือกที่ 1) รวมเงินที่จะชำระในงวดที่ 24 เท่ากับ 46,500 บาท  ในช่วงเวลา 2 ปีนี้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี เช่นเดียวกันกับทางเลือกที่ 1  โดยแสดงการผ่อนสินเชื่อตามทางเลือกที่ 2 ได้ดังตารางด้านล่าง  

 

4

จากตารางแสดงการผ่อนสินเชื่อด้านบน แสดงให้เห็นการผ่อนสินเชื่อตามปกติในปีที่ 1 และในปีที่ 2 ตั้งแต่งวดที่ 13-23 และมีการผ่อนชำระเกินเพียงงวดเดียวคือในงวดสุดท้ายของปีที่ 2 (งวดที่ 24)  โดยชำระเกินจำนวน 36,000 บาท  ทำให้จำนวนที่ชำระไปในงวดที่ 24 เท่ากับ 46,500 บาท  รวมจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมดตั้งแต่ปีแรกถึงสิ้นปีที่ 2 เท่ากับ 288,000 บาท  โดยในจำนวนนี้แบ่งไปเพื่อชำระดอกเบี้ยทั้งหมด 205,827.44 บาท และหักออกจากเงินต้นทั้งหมด 82,172.57 บาท  ทำให้ ณ สิ้นสุดปีที่ 2 หรืองวดที่ 24 เหลือยอดหนี้คงเหลือ 3,417,827.43 บาท  และเมื่อผ่อนชำระต่อเนื่องไปถึงปีที่ 20 (ถึงงวดที่ 240) โดยให้ผ่อนชำระเกินจำนวนเท่าเดิมในทุกๆ งวดสุดท้ายของแต่ละปี จะแสดงได้ดังตารางผ่อนสินเชื่อด้านล่างนี้

23

17

24

 

19

25

 

21

22

เมื่อผ่อนสินเชื่อต่อเนื่องไปถึงงวดที่ 240 ด้วยการชำระเกินอย่างต่อเนื่องในจำนวนที่คงที่เฉพาะในงวดสุดท้ายของแต่ละปี (แถบไฮไลท์สีชมพู) จะพบว่าเมื่อสิ้นสุดปีที่ 20 หรืองวดที่ 240 จะมีจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมด 3,204,000 บาท โดยในจำนวนนี้แบ่งไปชำระดอกเบี้ย 1,688,716.20 บาท และชำระเงินต้น 1,515,283.86 บาท ทำให้มียอดหนี้คงเหลือ ณ งวดที่ 24 เท่ากับ 1,984,716.14 บาท

6

จากตารางเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงพลังในการหักล้างยอดหนี้ของทางเลือกที่ 1 ซึ่งก็คือการชำระเกินทุกงวดที่เหนือกว่าทางเลือกที่ 2 อย่างการโปะเพิ่มทีละครั้ง  ถึงแม้ว่าทั้งสองทางเลือกจะชำระเกินในจำนวนเงินเท่าๆ กันก็ตาม  สังเกตจากจำนวนเงินผ่อนชำระที่เท่ากันทั้งสองทางเลือก  แม้ว่าในช่วง 2 ปี หรือ 24 งวด ยอดหนี้คงเหลือของทางเลือกที่ 1 จะน้อยกว่าทางเลือกที่ 2 เพียง 492.23 บาท ซึ่งหมายถึงทางเลือกที่ 1 การชำระเกินทุกงวด สามารถผ่อนชำระเงินต้นได้มากกว่าทางเลือกที่ 2 โปะเพิ่มปีละครั้ง สังเกตได้จากจำนวนเงินชำระเงินต้นทั้งหมดที่มากกว่า  และเมื่อยืดระยะเวลาให้ยาวนานออกไปอีกเป็น 20 ปี หรือ 240 งวด ก็จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมากขึ้น โดยจะพบว่าการผ่อนชำระเกินทุกงวดยังคงลดยอดหนี้ได้มากกว่าการโปะด้วยจำนวนเงินก้อนเดียวปีละครั้ง  โดยแตกต่างกันมากถึง 12,363 บาท  ซึ่งถ้าหากจำนวนเงินผ่อนชำระมากกว่านี้ อัตราดอกเบี้ยสูงกว่านี้ รวมไปถึงวงเงินกู้ที่มากกว่า และระยะเวลาที่ยาวนานกว่าก็จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมากขึ้นไปอีก 

ชำระเกินทุกงวดและโปะเพิ่มปีละครั้งเหมาะสมกับใคร

   การชำระเกินทุกงวดนั้นเหมาะสมกับคนที่มีรายได้และรายจ่ายค่อนข้างคงที่  ทำให้สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้าได้ค่อนข้างแม่นยำ  จึงไม่ค่อยมีความเสี่ยงมากนักหากจะกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อชำระส่วนเกินเพิ่มขึ้นไปอีกในแต่ละงวด  ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการรอนำเงินก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว เช่น เงินโบนัส ซึ่งมีไม่กี่ครั้งในแต่ละปีมาโปะยอดหนี้

   ส่วนวิธีการโปะเงินจำนวนมากนั้นเหมาะสมกับอาชีพที่รายได้ไม่คงที่ และไม่สม่ำเสมอ เช่น พนักงานขาย หรืออาชีพอิสระ ที่จะได้รับค่าจ้างหรือค่าคอมมิสชั่น เมื่อปิดงานหรือปิดการขายได้เป็นครั้งไปจึงอาจไม่สามารถชำระเกินได้ทุกงวด

   อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีแสดงให้เห็นว่าเราควรจ่ายเงินเกินเพื่อชำระเงินต้นทุกครั้งที่มีโอกาส ไม่ว่าจะชำระเกินด้วยจำนวนน้อยๆ แต่บ่อยๆ หรือโปะด้วยจำนวนเงินมากแต่นานๆ ครั้ง  เพราะทั้งสองวิธีสามารถช่วยลดยอดหนี้ได้โดยตรงและเห็นผลได้อย่างชัดเจน

   คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติม หรือลองเปรียบเทียบสินเชื่อของคุณได้จากตาราง Excel ที่เรามีให้ดาวน์โหลด โดยกด ดาวน์โหลดตารางเปรียบเทียบสินเชื่อที่นี่ หรือกดที่รูปภาพข้างล่างนี้ 

7

 เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย เชษฐพล มานิตย์ นักเขียนออนไลน์ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ chetapol@ddproperty.com 

 

เครดิต โดย http://www.ddproperty.com

  • Facebook  Twitter  Language Switch
  • Number of visitors

    Today : 0
    Totalvisits : 34994
  • Realty Search

  • Type of Sale

  • Type of Realty